ประวัติกีฬายูโดในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2450 | ชาวญี่ปุ่นชื่อ
กิโย ฟูจิ
(Kiyo Fuji) ได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยในบริษัทของชาวญี่ปุ่น |
ปี พ.ศ. 2455 | หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล ได้ทรงศึกษาวิชายูยิตสูมาจากประเทศยุโรป เมื่อกลับมารับราชการอยู่ในกระทรวงต่างประเทศ ทรงเห็นว่ายูยิตสูมีประโยชน์ต่อสังคม จึงมีความประสงค์จะให้มีการศึกษาวิชานี้ในโรงเรียนต่างๆ เช่นเดียวกับนานาประเทศ จึงทรงนำเอายูยิตสูไปสอนแก่ครูและนักเรียนในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นแห่งแรก ในจำนวนนี้ได้มีอาจารย์ทิมอิเปรมานนท์ และอาจารย์นิยมทองชิต เข้าศึกษาวิชายูยิตสูรวมอยู่ด้วย |
ปี พ.ศ. 2459 | หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล ได้เสนอวิชายูยิตสูแก่กรมตำรวจเพื่อพิจารณาจัดสอนให้แก่นักเรียนตำรวจ และเมื่อกรมตำรวจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ต่อตำรวจจึงอนุมัติให้สอนวิชายูยิตสูแก่ตำรวจได้ |
ปี พ.ศ. 2471 | มีชาวญี่ปุ่นชื่อ โตชิโอ อีดากา ได้เข้ามาทำการค้าขายในประเทศไทยและเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางวิชายูยิตสูทราบว่าทางประเทศญี่ปุ่นได้ปฏิรูปวิชายูยิตสูเป็นยูโดมานานแล้ว จึงไปช่วยอาจารย์ทิมอติเปรมานนท์ สอนวิชายูยิตสูที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเห็นว่าการฝึกซ้อมบางอย่างยังไม่ถูกต้องนัก จึงช่วยแนะนำและฝึกสอนด้วยกันเป็นเวลา 2 ปี |
ปี. พ.ศ.
2480 | สถาบันเรนบูกัน
ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกยูโดในประเทศไทย ได้จัดส่งนักยูโดไทย 5 คน ไปเยี่ยมเยียนสถาบันโคโดกันและยูต๊อกไก ประเทศญี่ปุ่น และการไปครั้งนี้ นักยูโดไทยได้แสดงฝีมือจนเป็นที่ยอมรับในความสามารถ
สถาบันโคโดกันจึงให้วุฒิสายดำ อันดับ 1 ให้แก่นักยูโดไทยทั้ง 5 คน คือ 1. นายจำรัส ศุภวงศ์ 2. นายสมศักดิ์ กิติสาธร 3. นายประจันต์ วัชรปาน 4. นายจิตวัฒน์ นาคะโมทย์ 5. นายทนง ชุมสาย (ประทีป พานิชชาติ, 2523) |
สมาคมยูโดในประเทศไทย | |
ปี พ.ศ. 2498 | บุคคลที่สนใจในยูโดประกอบด้วย พล.ต.ท.พิชัย กุลละวณิชย์ พล.ต.จ.มงคล จีรเศรษฐ และอาจารย์สิทธิผล พลาชีวิน (อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างกลปทุมวัน) ได้เริ่มก่อตั้งสมาคมยูโดแห่งประเทศไทยขึ้น และขอจดทะเบียนเป็นสมาคมอันถูกต้อง เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 โดยสำนักงานชั่วคราวของสมาคมอยู่ที่ตึกหน้าของโรงเรียนช่างกลปทุมวันเป็นแห่งแรก |
ในปี พ.ศ. 2499 | สมาคมยูโดแห่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสหพันธ์ยูโดแห่งเอเชีย (The Judo Federation of Asia) หลังจากนั้นสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ได้ส่งนักกีฬายูโดเข้าร่วมการแข่งขัน ระหว่างชาติเสมอมา ปัจจุบันทั่วทุกมุมโลกต่างก็ได้รู้จักกับคำว่ายูโดจากบรรดาสื่อมวลชนสาขาต่างๆ รวมทั้งการเผยแพร่จากสถาบันยูโดของญี่ปุ่นเอง โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญและครูฝึกไปเผยแพร่ และจัดการแข่งขันระหว่างประเทศที่สำคัญๆ ขึ้น เช่น การชิงแชมเปี้ยนโลก ชิงแชมป์เอเชีย การแข่งขันในกีฬาโอลิมปิค การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ และการแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยก็เคยส่งนักยูโดที่มีความสามารถเข้าร่วมการแข่งขันตลอดมา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในกีฬาซีเกมส์ เอเซี่ยนเกมส์และโอลิมปิกเกมส์ เป็นการส่งเสริมเยาวชนและคนในชาติให้มีโอกาสฝึกฝนการออกกำลังกายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อการเป็นพลเมืองที่ดีมีประสิทธิภาพตามอุดมคติของยูโดคือ “ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์ส่วนรวม” |